เอกสารชิ้นนี้นำเสนอการคลี่คลายสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนในปีที่ 8 นับจากปี พ.ศ. 2546 อันเป็นจุดหักเหสำคัญในประวัติศาสตร์การพัฒนาความปลอดภัยทางถนนของเมืองไทย นั่นคือ กำเนิดศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) อันเป็นกลไกนโยบายระดับชาติถัดจากคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัย (กปอ.) ในอดีตความแตกต่างที่อาจมีความหมายสำคัญระหว่างสองกลไกดังกล่าว คือ ในยุค ศปถ. ความพรั่งพร้อมทางงบประมาณ กำลังคน และองค์ความรู้ น่าจะมากกว่ายุค กปอ. เช่นเดียวกับเจตจำนงทางการเมืองก็มีความต่อเนื่องชัดเจนมากกว่า สะท้อนให้เห็นบริบทที่ต่างกันระหว่างสองยุค ตัวอย่างที่เด่นชัดคือ ความตื่นตัวทางสากลจนเกิดแรงผลักดันเป้าหมายเพิ่มความปลอดภัยทางถนนเป็นสองเท่าร่วมกันภายในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งรัฐบาลไทยก็ได้ขานรับอย่างเป็นทางการถ้าเปรียบพัฒนาการความปลอดภัยทางถนนใน 8 ปีที่ผ่านมา โดยเทียบเคียงกับองค์ความรู้ในสากล ย่อมกล่าวได้ว่า พัฒนาการนั้นเป็นไปถูกทิศทางแต่ยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับระดับความก้าวหน้า เนื่องจากไฟนำทางยังบิดเบี้ยวชวนให้สับสนว่า ตกลงขนาดและแนวโน้มความสูญเสียร่างกายและชีวิตลดลงหรือคงที่หรือเพิ่มขึ้นไฟนำทางในที่นี้คือระบบสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยหลายแหล่งต่างมีวัตถุประสงค์เฉพาะและวิธีดำเนินการเฉพาะไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม น่ายินดีว่าเริ่มปรากฎแสงสว่างปลายอุโมงค์ นั่นคือความพยายามปรับมาตรฐานนิยามตัวแปร และบูรณาข้อสนเทศจากหลายแหล่งเพื่อให้เกิดภาพรวมอย่างเป็นเอกภาพมากขึ้น ตลอดจนการส่งเสริมให้ข้อมูลถูกนำไปใช้มากขึ้น ถ้าเจตจำนงทางนโยบายแรงกล้าและต่อเนื่องเพียงพอเชื่อว่าจะมีความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญในไม่ช้า

 

รับผิดชอบโครงการ : มูลนิธิไทยโรดส์
ผู้สนับสนุน : ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
ปีที่ดำเนินการ : 2555 – 2556